ภาษีกองทุนตราสารหนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง เรื่องสำคัญที่นักลงทุนต้องรู้!!

หากจะพูดถึงกองทุนตราสารหนี้ พวกเราก็คงจะพอรู้จักกันบ้างพอสมควร

โดยล่าสุดพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นั้นก็ได้เพิ่มอัตราการเสียภาษีสำหรับกองทุนตราสารนี้ขึ้นมาใหม่ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่สิงหาคม ในช่วงปี 2019 ที่ผ่านมาแล้วด้วยเช่นกัน จะมีเงื่อนไขและการเปลี่ยนแปลงยังไงบ้างนั้น เราจะบอกให้รู้กัน

ข้อกฎหมายที่เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร


1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกองทุนรวมไม่ต้องนำรายได้อันไม่ใช่เงินได้มารวมคำนวณเป็นรายได้
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกระทำกิจการขนส่งผ่านประเทศต่าง ๆ ให้เสียภาษีเฉพาะกิจการขนส่งตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

– ในกรณีรับขนคนโดยสารให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าโดยสาร
– ในกรณีรับขนของให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม ก่อนหักรายจ่ายใดๆ ออกจากประเทศไทย 

2. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้อันไม่ใช่รายได้ตามมาตรา 65 ทวิ ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ

3. เงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ก) ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกองทุนรวมให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ

กองทุนรวมมีกี่ประเภท?

1. กองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 58

2. กองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงนี้ ภาษีการลงทุนตราสารหนี้เป็นยังไงมาก่อน?

ก่อนที่กฎหมายนี้จะถูกเปลี่ยนแปลงขึ้น การที่ผู้ลงทุนจะเสียภาษีนั้น จะต้องมีเงินได้เกิดขึ้น นั่นก็คือดอกเบี้ยและกำไรจากการขายหน่วยลงทุน แต่อาจได้รับยกเว้นการชำระภาษี เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณ เฉพาะคนที่มีเงินได้ แบบไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีคืนนั่นเอง ไม่ว่าทั้งหมดหรือกำไรบางส่วนก็ตาม

การเปลี่ยนแปลงของภาษีกองทุนรวมและภาษีของผู้ลงทุนในกองทุนรวม


1.
 ภาระภาษีของกองทุนรวม
ประมวลรัษฎากรกำหนดให้กองทุนรวมที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ตามนิยามในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ถือว่าเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จึงเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่กองทุนรวมนั้น มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเงินได้ที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากรเท่านั้น โดยเสียในอัตราร้อยละ 15 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย

ดังนั้นกองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้ จะได้รับผลกระทบจากการแก้ไขประมวลรัษฎากรครั้งนี้ เพราะกองทุนรวมประเภทดังกล่าว จะมีเงินได้หลักเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากรนั่นเอง

แต่ในแง่มุมทั่วไปนั้น ถือว่าไม่มีผลกระทบต่อนักลงทุนมากขนาดนั้น แต่ถ้าพูดถึงแง่ของผลตอบแทนจากการลงทุน ที่ใครๆ ก็คาดหวังนั้นจะถูกปรับตัวลดลงโดยตรง ทำให้คนที่นำเงินไปลงทุนนั้นจะถูกหักภาษี 15% ทันทีไปโดยปริยาย

2. ภาระภาษีของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม

เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่กองทุนรวมจ่ายให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ถือว่าเป็นเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่จ่ายจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งกองทุนรวมจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา ร้อยละ 10 ของเงินได้ดังกล่าว ตามมาตรา 50 (2) (จ) แห่งประมวลรัษฎากร

ดังนั้น ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเป็นคนที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยจะต้องเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ Final Tax โดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีปลายปีก็ได้เช่นกัน

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า กฎหมายนั้นได้กำหนดให้กองทุนรวมมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราภาษีที่แท้จริง หรือ Effective Tax Rate ของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุน ดังนั้น ตราสารหนี้จะสูงขึ้น เพราะกองทุนรวมตราสารหนี้นั้น ไม่มีหน้าที่เสียภาษีอยู่แล้ว ทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมมีอัตราภาษีที่แท้จริงสำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมเพียงร้อยละ 10 ของเงินได้ เพราะเราสามารถที่จะเลือกไม่นำเงินดังกล่าวไปรวมคำนวณก็ได้

แต่ในทางกลับกัน หากบุคคลธรรมดาลงทุนในตราสารหนี้โดยตรง เงินได้ที่ได้รับจากการลงทุน ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น อัตราภาษีที่แท้จริง จะเป็นร้อยละ 15 ซึ่งสูงกว่าการลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้นั่นเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ จะมีผลกับการลงทุนในกองทุนรวมทั้งระบบ ทุก บลจ. โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. 2562 ที่ผ่านมาแล้วนั่นเอง

เหนือสิ่งอื่นใดแล้ว การลงทุนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม การเลือกลงทุนให้เหมาะกับวัตถุประสงค์และรายได้ของตนเอง จะนำพาไปสู่การลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดและเกิดผลลัพธ์ที่เวิร์คที่สุดต่อตัวเองในท้ายที่สุด ดังนั้น ก่อนจะหันมานำเงินไปทุ่มกับการลงทุนใดๆ ก็ตาม เราจึงจำเป็นต้องรู้เงื่อนไขและความเปลี่ยนแปลงของประเภทการลงทุนนั้นๆ ก่อนเสมอ ว่าเหมาะและคุ้มกับการลงทุนของตัวเองที่สุดแล้วหรือยัง