การเตรียมตัวและดำเนินการหากได้รับหนังสือแจ้งความ Transfer Pricing

ข้อควรรู้เกี่ยวกับกฏหมายบางอย่างที่ส่งผลต่อการประกอบธุรกิจที่นักธุรกิจห้ามพลาด

อีกสิ่งหนึ่งสำคัญที่เราต้องรู้คือเรื่องของการทำบัญชีและวางแผนภาษีเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังอย่างบานอ่วม แต่เหนือสิ่งอื่นใด เมื่อเรามีการทำธุรกิจแล้วได้รับหนังสือแจ้งความ Transfer Pricing จากกรมสรรพากรนั้นมันเป็นอย่างไร และเมื่อได้รับแล้วเราจะต้องดำเนินการต่อยังไงบ้างนั้น และนี่คือคำตอบ

ตามมาตรา 71 ตรี วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากร

นับตั้งแต่วันที่เราได้ยื่นรายงานข้อมูลการจดทะเบียนห้างร้านหรือธุรกิจกับทางผู้ประเมิน ภายใน 5 ปี เราอาจจะได้รับหนังสือแจ้งความเพื่อให้ยื่นเอกสารหรือหลักฐานข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ธุรกิจบริษัท และเมื่อเราได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วนั้นก็จะต้องปฎิบัติตามภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ ยกเว้นเราไม่สามารถกระทำได้ภายใน 60 วัน อธิบดีจะอนุญาตขยายกำหนดเวลาออกไปให้แต่จะไม่เกิน 120 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความนั่นเอง

ใครบ้างที่จะได้รับหนังสือแจ้งความ

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นรายได้เงินหลักของจำนวนรายได้ทั้งหมดของกิจการ

หลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรใช้คัดเลือกบริษัทเพื่อขอตรวจสอบ Transfer Pricing Audit

พฤติกรรมความเสี่ยงและเงื่อนไขต่างๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะถูกเรียกตรวจสอบโดยกรมสรรพากร มีดังนี้

1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวขาดทุนต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี

2. ผลประกอบการของบริษัทไม่สม่ำเสมอ เช่น มีกำไรในปีแรก แต่ปีที่สองขาดทุน ปีที่สามกำไร ปีที่สี่ขาดทุน ทำให้ไม่มีภาษีชำระในรอบหลายปี

3. บริษัทมีกำไรสุทธิต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม

4. ผลประกอบการขาดทุนหลังจากหมดระยะเวลาการได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI

5. มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในธุรกิจของบริษัท ทำให้มีผลกำไรสุทธิลดลงหรือขาดทุน อันเป็นเหตุให้บริษัทเสียภาษีน้อยลงหรือไม่ได้ชำระภาษีเลย

6. มีรายจ่ายค่าบริหารจัดการ ค่าสิทธิ ที่จ่ายให้แก่บริษัทที่มีความสัมพันธ์กันในปริมาณมากหรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ

7. ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานที่กำหนดเงื่อนไขราคาหรือธุรกรรมระหว่างกันของบริษัทในเครือ

ทำอย่างไร เมื่อถูกเรียกให้ส่งเอกสารดังกล่าวต่อกรมสรรพากร??

เมื่อถูกเรียกให้นำส่งเอกสารเพื่อตรวจสอบนั้น บริษัทจะต้องทำเอกสาร หลักฐานที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ข้อกำหนดของธุรกรรมระหว่างกันให้กับกรมสรรพากร โดยรายละเอียดเอกสารที่ต้องใช้นั้นปรากฎอยู่ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 113/2545 ข้อ 4 ซึ่งมีอยู่ 10 ข้อ

ความยากของการจัดทำเอกสาร Transfer Pricing Documentation

ความยากก็คือเราจะต้องชี้แจงและแสดงให้กรมสรรพากรเห็นว่า วิธีการกำหนดราคาของบริษัทเป็นราคาที่บริษัทอิสระกำหนดกันไว้ถูกต้องแล้ว ดังนั้น เราจึงต้องเปรียบเทียบราคาโดยอาศัยความรู้ทางด้านการทำบัญชีและการวางแผนภาษีเข้ามาช่วยด้วยนั่นเอง

ขั้นตอนการคิดเปรียบเทียบราคา

สมมุติว่าบริษัท A มีผลกำไรสุทธิโดยเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 1% ของยอดขาย แต่จากการวิเคราะห์พบว่ามีบริษัทที่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ 5 บริษัท คือ 

บริษัท B มีกำไรโดยเฉลี่ย 3 ปี คือ 3% ของยอดขาย 

บริษัท C มีกำไรโดยเฉลี่ย 3 ปี คือ 2% ของยอดขาย

บริษัท D มีกำไรโดยเฉลี่ย 3 ปี คือ 5% ของยอดขาย 

บริษัท E มีกำไรโดยเฉลี่ย 3 ปี คือ 6% ของยอดขาย 

บริษัท F มีกำไรโดยเฉลี่ย 3 ปี คือ 10% ของยอดขาย


ดังนั้นกำไรสุทธิของบริษัทอิสระคือ 2-10% ของยอดขาย กรมสรรพากรก็จะทำการแจ้งให้บริษัท A ปรับเพิ่มกำไรสุทธิไปที่จุดใดจุดหนึ่งของราคา ซึ่งถ้าสรรพากรแจ้งให้ปรับปรุงกำไรสุทธิไปที่ 5% ของยอดขาย บริษัทจะมีกำไรอยู่ที่ 15,000,000 บาท (5% ของ 300,000,000) ดังนั้นบริษัทจะต้องนำกำไรที่ได้ (15,000,000 – 3,000,000 = 12,000,000 บาท) ไปชำระคืนภาษีให้กับทางกรมสรรพากรนั่นเอง 

ทุกคนก็จะได้เห็นกันชัดๆ แล้วว่า Transfer Pricing นั้นถือเป็นของกฎหมายที่คนทำธุรกิจทุกคนต้องรู้และเตรียมตัวไว้เพื่อเป็นข้อมูลตลอดเวลา เพื่อไม่ให้โดนทางกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบเพื่อให้คืนภาษีเพิ่มเติมตามมานั่นเอง